เมนู

อรรถกถาอัตถิราคสูตร ที่ 4



ในอัตถิราคสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
คำว่า ราโค เป็นต้น เป็นชื่อของโลภะนั่นเอง. จริงอยู่ โลภะนั้น
เรียกว่า ราคะ ด้วยอำนาจความยินดี เรียกว่า นันทิ ด้วยอำนาจความ
เพลิดเพลิน เรียกว่า ตัณหา ด้วยอำนาจความอยาก. บทว่า ปติฏฺฐิตํ
ตตฺถ วิญฺญาณํ วิรุฬหํ
ความว่า ตั้งอยู่และงอกงาม เพราะสามารถ
ทำกรรมให้แล่นไปแล้วชักปฏิสนธิมา. บทว่า ยตฺถ เป็นสัตตวิภัตติ
ใช้ในอรรถแห่งวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ 3. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยตฺถ นี้
เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในบทต้น ๆ ในที่ทุกแห่ง. บทว่า อตฺถิ ตตฺถ
สงฺขารานํ วุฑฺฒิ
นี้ ท่านกล่าวหมายเอาสังขารซึ่งมีวัฏฏะเป็นเหตุต่อไป
ของนามรูปซึ่งตั้งอยู่ในวิบากวัฏนี้. บทว่า ยตฺถ อตฺถิ อายตึ ปุนพฺ-
ภวาภินิพฺพตติ
ความว่า การเกิดในภพใหม่ต่อไปมีอยู่ในที่ใด.
ในคำว่า เอวเมว โข นี้ มีการเปรียบเทียบด้วยอุปมาดังต่อไปนี้.
ก็กรรมที่เกิดพร้อมและกรรมที่อุดหนุน (สหกรรมและสสัมภารกรรม)
เหมือนช่างย้อมและช่างเขียน วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ 3 เหมือนแผ่น
กระดานฝาและแผ่นผ้า กรรมอันเป็นตัวปรุงแต่งย่อมสร้างรูปในภพ
ทั้งหลาย เหมือนช่างย้อมและช่างเขียน ย่อมสร้างรูปที่แผ่นกระดานเป็น
ต้นที่บริสุทธิ์ ในอุปมาเหล่านั้น คนบางคนเมื่อทำกรรม ย่อมทำด้วยจิตที่
เป็นญาณวิปปยุต กรรมนั้น ( ของเขา) เมื่อจะสร้างรูป ย่อมไม่ให้ความ
สมบูรณ์แห่งรูปสำหรับจักษุเป็นต้น สร้างแต่รูปที่วรรณะไม่งาม ทรวด
ทรงไม่ดี ไม่น่าพอใจแม้ของบิดามารดา เปรียบเหมือนรูปที่ช่างเขียนผู้ไม่

ฉลาดสร้างขึ้น เป็นรูปวิกลบกพร่อง ไม่น่าพอใจฉะนั้น. อนึ่ง คนบางคน
เมื่อทำกรรม ย่อมทำด้วยจิตที่เป็นญาณสัมปยุต กรรมนั้น. (ของเขา)
เมื่อสร้างรูป ย่อมให้ความสมบูรณ์แห่งรูปสำหรับจักษุเป็นต้น สร้างแต่รูป
ที่มีวรรณะงาม ทรวดทรงดี เหมือนประดับตกแต่งตัวแล้ว เปรียบเหมือน
รูปที่ช่างเขียนผู้ฉลาดสร้างขึ้นเป็นรูปงาม ทรวดทรงดี เป็นที่น่าพอใจ
ฉะนั้น.
ก็ในอุปมานี้ พึงทราบว่า ท่านสงเคราะห์อาหารเข้ากับวิญญาณ
คือระหว่างอาหารกับนามรูป เป็นสนธิหนึ่ง ชื่อว่า วิบากวิถี สงเคราะห์
เข้ากับรูป ระหว่างนามรูปกับสังขาร เป็นสนธิหนึ่ง ระหว่างสังขารกับ
ภพต่อไป เป็นสนธิหนึ่ง.
บทว่า กูฏาคารํ ได้แก่เรือนที่ติดช่อฟ้าอันหนึ่งสร้างไว้. บทว่า
กูฏาคารสาลา ได้แก่ศาลาที่ติดช่อฟ้า 2 อันสร้างไว้. ในคำว่า เอว-
เมว โข
นี้ พึงทราบว่ากรรมของพระขีณาสพก็เสมอกับรัศมีแห่งพระ-
อาทิตย์ ก็รัศมีแห่งพระอาทิตย์มี แต่รัศมีนั้นตั้งอยู่อย่างเดียว เพราะไม่มี
จึงชื่อว่าไม่ตั้งอยู่. เพราะไม่มีนั่นเอง กรรมของพระขีณาสพจึงไม่ตั้งอยู่.
จริงอยู่ กายเป็นต้นของพระขีณาสพนั้นมีอยู่ แต่กรรมที่พระขีณาสพ
เหล่านั้นทำ ไม่จัดเป็นกุศลและอกุศล ตั้งอยู่ในทางแห่งกิริยา ไม่มีวิบาก
กรรมของท่านชื่อว่าไม่ตั้งอยู่ เพราะไม่มีนั่นเองแล.
จบอรรถกถาอัตถิราคสูตรที่ 4

5. นครสูตร



ว่าด้วยโลกนี้ลำบากเพราะมีเกิดแก่เจ็บตาย



[250] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ที่นั้นแล พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่
กาลตรัสรู้ เมื่อเรายังเป็นพระโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ เราได้มีความคิด
อย่างนี้ว่า โลกนี้ถึงความลำบากหนอ ย่อมเกิด แก่ ตาย จุติและอุบัติ
ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ไม่มีผู้ใดทราบชัดซึ่งธรรมเป็นที่สลัดออกจากกองทุกข์
คือ ชราและมรณะนี้ได้เลย เมื่อไรหนอ ธรรมเป็นที่สลัดออกไปจากกอง
ทุกข์คือชราและมรณะนี้จึงจักปรากฏ.
[251] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่อ
อะไรหนอแล มีอยู่ ชราและมรณะจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย จึงมีชรา
และมรณะ เพราะการใส่ใจโดยแยบคายของเรานั้น จึงรู้ได้ด้วยปัญญาว่า
เมื่อชาติแลมีอยู่ ชราและมรณะจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและ
มรณะ เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า เมื่ออะไรหนอแลมีอยู่ ชาติจึงมี. . .
ภพจึงมี... ตัณหาจึงมี. .. เวทนาจึงมี... ผัสสะจึงมี. .. สฬายตนะจึงมี...
นามรูปจึงมี . . . เพราะอะไรเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะการใส่ใจโดย
แยบคายของเรานั้น จึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อวิญญาณมีอยู่ นามรูปจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า เมื่อ
อะไรหนอแลมีอยู่ วิญญาณจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะการใส่ใจโดยแยบคายของเรานั้น จึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อนามรูป